วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

E-mail Address - เรื่องของจดหมายอิเลคทรอนิกส์

E-Mail (Electronic Mail) - จดหมายอิเลคทรอนิกส์ คืออะไร
คือจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง

รูปแบบชื่อ Email Address yourname@it-guides.com

1. yourname คือ ชื่อของคุณ สามารถตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้
2. เครื่องหมาย "@" สำหรับกั้นระหว่าง ชื่อ กับ ชื่อเวปไซท์ หรือ domain name
3. it-guides.com คือ ชื่อเวปไซท์ หรือ domain name

ชนิดของการรับส่ง E-mail

1. รับส่งโดยใช้โปรแกรม Email โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express, Eudora
2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น www.yahoo.com, www.hotmail.com
3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น

          การรับส่ง Email โดยปกติจะต้องมีการกำหนด Configuration เพื่อกำหนด Incoming Mail และ Outgoing Mail Server ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการ check mail เนื่องจากบางคนไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ทำให้ไม่ค่อยสะดวก ดังนั้น แบบที่ 2 คือ check email ผ่าน Web site จึงมีผู้นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกำหนด Configuration อะไรทั้งสิ้น แค่เพียงคุณสมัครเป็นสมาชิกกับ Web site ที่ให้บริการ แค่จำชื่อ User และ Password เท่านั้น คุณก็สามารถจะตรวจสอบ Email ได้จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก... (การลงทะเบียนเพื่อขอ E-mail แบบที่ 2 นี้จะเป็นการให้บริการฟรี!)
Web site ที่ให้บริการ Email ฟรี ได้แก่
1. www.yahoo.com
2. www.hotmail.com
3. www.thaimail.com
4. www.mweb.co.th

วิธีการใช้งานทั่วไป



1. TO - หมายถึง ชื่อ Email สำหรับผู้รับ
2. FROM - หมายถึง ชื่อ Email สำหรับผู้ส่ง
3. UBJECT - หมายถึง หัวข้อเนื้อหาของจดหมาย
4. CC - หมายถึงสำเนา Email ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง
5. BCC - หมายถึงสำเนา Email ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แต่ผู้รับ (TO) จะไม่ทราบว่าเราสำเนาให้ใครบ้าง
6. ATTACHMENT - ส่ง file ข้อมูลแนบไปพร้อมกับ Email


เทคนิคการใส่ขื่อ Email


1. ปกติชื่อ Email ประกอบด้วย yourname@it-guides.com เป็นต้น แต่เราสามารถใส่ชื่อของเราเพิ่มเข้าไปได้ด้วย ดังตัวอย่าง
Somsri "yourname@it-guides.com"
2. การส่ง Email พร้อมกันหลายคน เราสามารถส่งโดยใช้ช่อง CC ได้ หรือถ้าต้องการส่งในช่อง TO หลายคน เราสามารถใส่เครื่องหมายคอมม่า "," แยกระหว่าง Email ได้

Netbook

เน็ตบุ๊ค (Netbook) คืออะไร

  • คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กประมาณ 8.9 นิ้ว บางค่ายก็มี 10 นิ้ว
  • ใช้ซีพียูของ Intel Atom เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่สามารถเทียบความเร็วกับ Core 2 ได้เลย
  • จำกัดแรม ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 GB
  • ฮาร์ดดิกส์ อาจเป็นได้ทั้ง hard disk หรือ ใช้ เทคโนโลยีโซลิด สเตท SSD ซึ่งมีความจุต่ำมาก เมื่อเทียบกับ hard disk ปกติ เน็ตบุ๊คบางรุ่น บางยี่ห้อก็ได้ hard disk เหมือนกัน
  • มี Wireless, Web Cam, BlueTooth
  • ส่วนใหญ่ไม่มี CD-ROM Drive
  • น้ำหนักต่ำกว่า 2 KG
  • สำหรับราคาคือ หลักหมื่น

ความสามารถของ เน็ตบุ๊ค (Netbook)

ชื่อก็เป็นตัวบ่งบอกแล้วว่า คือ เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ต นั่นเอง นั่นหมายความว่า เหมาะสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่สำหรับเล่นเกมส์ ดังนั้น สำหรับน้องๆ ที่จะตั้งใจซื้อเพื่อไปเล่นเกมส์ก็คงผิดหวังเป็นอย่างแรง และอีกวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งของผู้ผลิตก็คือ สำหรับนิสิตนักศึกษา รวมทั้งเหมาะสำหรับงานพรีเซ็นเทชั่น เท่านั้นเอง ..


คำแนะนำเล็กน้อยสำหรับผู้ใช้งาน เน็ตบุ๊ค


เนื่องจากประสิทธิภาของเน็ตบุ๊คค่อนข้างจำกัด ดังนั้นการเลื่อกใช้โปรแกรม ควรเลือกใช้โปรแกรมที่ต้องการคุณสมบัติของเครื่องคอมฯ ที่ไม่สูงนัก สำหรับระบบปฏิบัติการแนะนำให้ใช้ Windows XP แทน Windos Vista เหตุผลคือ Windows Vista ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพสูง และอีกโปรแกรมหนึ่งที่สำคัญ คือ Microsoft Office ซึ่งเวอร์ชั่นที่แนะนำให้ใช้คือ Micrsoft?Office 2003 แทนที่ Office 2007 ซึ่งรับรองว่าจะสามารถทำงานได้ดีในระดับหนึ่ง แต่อย่าหวังน่ะครับว่า จะเร็วเหมือนเครื่อง Desktop รุ่นที่ซื้อใหม่ๆ เหมือนกัน

 

ประวัติอินเทอร์เน็ต






ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

บทเรียนสำเร็จรูป

บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม หมายถึง การสอนโดยใช้บทเรียนที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักจิตวิทยาให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยเสนอความรู้ให้ผู้เรียนเป็นขั้น ๆ ในแต่ละขั้นจะมีคำถามให้ผู้เรียนตอบพร้อมเฉลย คำตอบของผู้เรียนนั้น ถูกหรือผิด แต่ละลำดับขั้นเรียบกว่า กรอบ หรือ เฟรม โดยมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างกระตือรือร้น
2. ผู้เรียนทราบผลการเรียนทันทีที่แสดงพฤติกรรมตามคำสั่ง
3. ผู้เรียนได้พบกับความสำเร็จด้วยตนเอง
4. แบ่งเนื้อหาเป็นตอน ๆ เรียงจากง่ายไปหายาก
ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป
1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง มีลักษณะ ดังนี้
1.1 มีข้อความเป็นหน่อยหรือกรอบย่อย ๆ เฉลี่ยแล้วมีความยาวประมาณ 2 ประโยค
1.2 ให้นักเรียนตอบด้วยคำตอบสั้น ๆ ซึ่งจะมีเฉลยคำตอบในกรอบถัดไป
1.3 เสนอความรู้เป็นขั้นสั้น ๆ จากง่ายไปหายาก
1.4 เสนอความรู้เรียงตามลำดับต่อเนื่องกันไปตั้งแต่กรอบแรก จนจบ
2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเสขา หรือบทเรียนสำเร็จรูปแบบเลือกตอบ เพราะผู้เรียนต้องเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากตัวเลือกที่มีให้หลายอัน ตัวบทเรียนมักทำเป็นสาขาแตกแขนงออกไปตามลักษณะคำตอบของนักเรียน นักเรียนทำถูกจึงจะได้รับอนุญาตให้เรียนข้อต่อไป ถ้าทำผิดจะต้องเรียนข้อนั้นจนทำให้ถูกต้อง ลักษณะเด่นของบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา คือมีคำอธิบายว่า “ทำไม” คำตอบของผู้เรียนจึงถูก หรือเพราะ เหตุไรจึงผิด บทเรียนจะดำเนินไปเช่นไร ก็ขึ้นอยู่กับคำตอบของนักเรียน ถ้าผิดก็จะได้รับคำอธิบายเพิ่มเติม ถ้าทำได้ถูกต้องก็จะเรียนบทเรียนอื่น ๆ ต่อไป
หลักในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
1.ควรทำให้บทเรียนมีเนื้อหาสาระมีคุณค่าต่อการเรียน เลือกเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนและทันสมัย
2. ควรให้นักเรียนมองเห็นข้อแตกต่างและนำความรู้ที่ได้ไปขยายและใช้ประโยชน์
3.ควรทำบทเรียนให้น่าสนใจ
4. ควรนำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไข
โดยคำนึงถึงนักเรียน สิ่งที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ เนื้อหาวิชา วิธีสอน ค่าใช้จ่ายในการจัดทำและชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป
ข้อดีของบทเรียนสำเร็จรูป
1. นักเรียนมีโอกาสได้เรียนด้วยตนเองและสนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ช่วยให้ครูทำงานน้อยลง พูดน้อยลง มีเวลาเตรียมบทเรียนต่อไป
3. แก้ปัญหาการขาดแคลนครู
4. แก้ปัญหานักเรียนเรียนช้า แต่ถูกเพื่อน ๆ เยาะเย้ยเมื่อตอบผิด

gps หมายถึง

GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
          1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียม 3 ค่าย คือ
  • อเมริกา รัสเซีย ยุโรป ของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging  GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก  20,162.81 กม.หรือ  12,600  ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก  12  ชั่วโมง
  • ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008
  • รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)
ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจากนโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร  
          2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน  สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก      
          3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ
GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
          1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียม 3 ค่าย คือ
  • อเมริกา รัสเซีย ยุโรป ของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging  GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก  20,162.81 กม.หรือ  12,600  ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก  12  ชั่วโมง
  • ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008
  • รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)

ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจากนโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร  
          2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน  สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก      
          3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ

eBook คือ


ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ eBook
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ eBook เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นเอกสารในรูปแบบดิจิตัลที่นำเสนอข้อมูลในลักษณะข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ

ที่จัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่สัมพันธ์ของเนื้อหาถึงกันได้ผ่านจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะอยู่ในแฟ้มเดียวกันหรืออยู่คนละแฟ้ม หากเป็นการเชื่อมโยงข้อความที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่าข้อความหลายมิติ (hypertext) และหากข้อมูลนั้นเป็นการเชื่อมโยงลักษณะภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว เรียกว่าสื่อหลายมิติ (hypermedia)โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อ่านได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

iPad คืออะไร

 iPad แท็บเล็ตพีซี มีลักษณะเหมือน iPhone ขนาดใหญ่ 

iPad มีหน้าจอ 9.7 นิ้ว หนาเพียง 0.5 นิ้ว ใช้ซีพียู Apple A4 ที่ทางบริษัทผลิตขึ้นเอง สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 10 ชั่วโมง เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi และเครือข่าย 3G ได้ เครื่อง iPad ไม่มีคีย์บอร์ดเป็นปุ่มเหมือนกับโน้ตบุ๊ก แต่ใช้คีย์บอร์ดบนจอภาพ ในรุ่นนี้ยังไม่มีโทรศัพท์และกล้องถ่ายภาพ
iPad มาพร้อมกับซอฟต์แวร์มาตรฐานของเครื่องแมคและ iPhone เช่น เว็บเบราว์เซอร์ อีเมล รูปภาพ วิดีโอ เพียงแต่ปรับแต่งให้เหมาะกับหน้าจอสัมผัสขนาดใหญ่มากขึ้น ความสามารถของซอฟต์แวร์จะอยู่กึ่งกลางระหว่างมือถือกับพีซีเช่นกัน ผู้ใช้งาน iPhone สามารถนำโปรแกรมเดิมไปใช้บน iPad ได้ โดยใช้วิธีขยายความละเอียดของหน้าจอให้อัตโนมัติ (ปัจจุบัน iPhone มีโปรแกรมให้เลือกใช้ประมาณ 140,000 โปรแกรม) นอกจากโปรแกรมบน iPhone แล้ว iPad ยังมีโปรแกรมเฉพาะของตัวเอง ซึ่งแอปเปิลได้โชว์เกม โปรแกรมอ่านหนังสือพิมพ์ The New York Times และโปรแกรมเบสบอลจาก MLB.com
จุดขายที่สำคัญอีกอย่างของ iPad คือ iBooks ร้านขายหนังสือออนไลน์ของแอปเปิล ที่มาพร้อมกับสำนักพิมพ์ใหญ่ 5 ราย ทำให้แอปเปิลกลายเป็นคู่แข่งกับ Kindle อุปกรณ์อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ Amazon โดยตรง
นอกจากนี้ iPad ยังมีโปรแกรมสำนักงานในตระกูล iWork ของแมคอินทอช ซึ่งปรับให้เหมาะกับหน้าจอสัมผัสเช่นกัน โดย iWork ประกอบด้วยโปรแกรม 3 ตัว ได้แก่ ประมวลผลคำ (Pages) นำเสนอ (Keynote) และตารางคำนวณ (Numbers) ขายแยกในราคาโปรแกรมละ 9.99 ดอลลาร์
iPad มีทั้งหมด 6 รุ่นย่อย โดยแบ่งเป็นรุ่นที่มีและไม่มี 3G (รุ่นที่ไม่มี 3G ต้องเชื่อมกับ Wi-Fi เท่านั้น) หน่วยความจำมี 3 ขนาดคือ 16GB, 32GB, 64GB รุ่นต่ำสุดคือ 16GB ไม่มี 3G