วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

สื่อ CAI

PostHeaderIcon CAI คืออะไร?

CAI คือ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (ย่อมาจาก Computer-Assisted Instruction)  ที่มีหน้าที่เป็นสื่อการเรียนการสอนเหมือนแผ่นใส (Transparent) สไลด์ (Slide) หรือวีดิทัศน์ (Video) ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. นักวิชาการ (Academic Expert)
2. นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
3. นักสร้างสรรค์ (Producer)
4. นักศิลปะ (Artist)

ฉะนั้น CAI ก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสอน โดยมีการกำหนดให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนได้เช่นเดียวกับการเรียนในห้องเรียนกับครู  เพียงแต่มีคามยืดหยุ่นน้อยกว่าเท่านั้น
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  • ผู้เรียนสามารถศึกษาบทเรียนด้วยตัวเองได้โดยไม่จำกัดเวลา โดยไม่ต้องรอครูหรือเข้าชั้นเรียน
  • หากไม่เข้าใจสามารถดูหรือเรียนซ้ำได้  บทเรียนใดเข้าใจแล้ว สามารถผ่านไปเรียนบทอื่นได้โดยไม่ต้องรอให้บทนั้นๆจบก่อน
  • ช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหาร ครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียนมากขึ้น เช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษา และช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอน
  • การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถ วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน
  • คอมพิวเตอร์ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน  เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
  • ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการ บันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ  ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไปได้อย่างเที่ยงตรง
  • ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง  ทำให้สามารถนำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี  โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละ คนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
  • ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า สามารถเรียนไปตามความสามารถของตน
  • เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการคบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำมาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น